Notice: Use of undefined constant content_type_id - assumed 'content_type_id' in /var/www/vhosts/7innovationawards.com/httpdocs/knowledge-detail.php on line 15 Notice: Use of undefined constant parent_id - assumed 'parent_id' in /var/www/vhosts/7innovationawards.com/httpdocs/knowledge-detail.php on line 15 Notice: Undefined index: member_id in /var/www/vhosts/7innovationawards.com/httpdocs/knowledge-detail.php on line 23 Notice: Undefined index: member_id in /var/www/vhosts/7innovationawards.com/httpdocs/knowledge-detail.php on line 26 หลุมพรางในการสร้างนวัตกรรม
อีเมลล์

รหัสผ่าน

การบริหารองค์กรที่มีนวัตกรรม

หน้าหลัก / คลังความรู้

หลุมพรางในการสร้างสรรค์นวัตกรรม


 
              ปัจจุบันการสร้างนวัตกรรม ถือได้ว่าเข้ามามีบทบาทอย่างมากที่จะทำให้องค์กรประสบความ สำเร็จ และ เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืน ตลอดจนทำให้องค์กรพบวิธีการทำงานแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม เกิดการค้นพบสินค้าและบริการใหม่ที่ตลาดต้องการรวมถึงรูปแบบใหม่ๆในการดำเนินธุรกิจให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและตลาดอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังเป็นตัวที่จะสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นให้กับ ลูกค้าหรือผู้บริโภค รวมถึงผู้มีส่วน เกี่ยวข้องส่งผลดีต่อองค์กร เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ  ทำให้แทบทุกองค์กรธุรกิจ หันมาสนใจเรื่องการสร้างนวัตกรรมให้องค์กรของตนกันอย่างเห็นได้ชัด

              อย่างไรก็ตาม การสร้างนวัตกรรมขององค์กรแม้จะมีเป้าประสงค์เดียวกันคือ ทำให้องค์กรเกิด การพัฒนาและธุรกิจมีการเติบโต หากแต่กระบวนการคิดอาจจะต่างกันไป มีทั้งประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ ในที่นี้จะขอจัดแบ่งการสร้างนวัตกรรมเป็น 2 ลักษณะ คือแบบเปิดและแบบปิด

              นวัตกรรมแบบปิด(Close Innovation) คือการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ค้นหาคำตอบผ่าน กระบวนความคิดด้วยบุคคลากรภายในของตนเอง ลักษณะเช่นนี้อาจทำให้ไม่สามารถ เข้าถึงความรู้ และความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและชัดเจน ดังตัวอย่างองค์กรผลิตกล้องที่ผลิตกล้องถ่าย รูปและฟิล์ม มาอย่างยาวนานแห่งหนึ่ง ที่มีความสามารถมากมายที่จะผลิตกล้องและฟิล์มที่ดีไซน์ อย่างต่อเนื่องออกมาจำหน่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วความต้องการของตลาดและลูกค้ากลับ สวนทางกัน กับสิ่งที่องค์แห่งนี้กำลังเพียรพยายามผลิตฟิล์มที่เป็นสุดยอดนวัตกรรมที่ยังไม่เคยมีคน ทำมาก่อนเลยก็ตาม แต่สินค้าดังกล่าว ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด ที่เปลี่ยนไป แล้วได้อีก ผลที่ตามมาคือความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจนั่นเอง

              การสร้างนวัตกรรมในอีกลักษณะหนึ่งคือ นวัตกรรมแบบเปิด(Open Innovation) เป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยรับเอาแนวคิดใหม่ๆจากบุคคลากรหรือหน่วยงานภายนอกองค์กร เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดใหม่ๆ จากบุคคลากรภายนอกอยู่ตลอดเวลา โดยองค์กรไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการค้นคว้าหาความรู้ทำงานวิจัย จนไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆด้วยตัวเองทั้งหมด เพียงแต่ต้องคอยแสวงหาและติดตามความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และประสบการณ์จากภายนอกที่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาทำการต่อยอด และเปิดรับสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าอันจะทำให้องค์กรเข้าใจสิ่งที่เป็นความต้องการของตลาดแล้วนำไปพัฒนาได้อย่างตรงจุด

อย่างไรก็ตามในระหว่างการสร้างนวัตกรรมย่อมมีอุปสรรค ในที่นี้จะขอเรียกอุปสรรคว่า ”หลุมพรางของนวัตกรรม” มีอยู่หลายประการด้วยกัน ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างให้เห็น 7 เรื่องดังนี้
 
1.เอาความสำเร็จในอดีตมากำหนดอนาคต กล่าวคือ ความสำเร็จในอดีตไม่ได้เป็นหลักประกันความสำเร็จในอนาคต ความสำเร็จที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่ได้หมายความว่าสามารถใช้ได้ตลอดไปเนื่องจากสภาวะแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ดังนั้นองค์กรจะต้องเปลี่ยนแปลงปรับตัวได้เร็วแล้วพัฒนาต่ออย่างไม่หยุดยั้ง  ดังที่คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า “เวลาเราทำอะไรสำเร็จ เราสามารถดีใจได้แค่วันเดียว” เนื่องจากในวันพรุ่งนี้ก็อาจจะมีคนอื่นทำสิ่งใหม่ๆที่ดีกว่า
2. ละเลยเสียงของลูกค้าและสังคม  การที่เราจะทำนวัตกรรม เราต้องไม่ลืมความต้องการของลูกค้าและสังคม หากเรามัวแต่ทำนวัตกรรมเพื่อองค์กรตัวเอง แล้วลืมหันมามองความต้องการของผู้บริโภค ตลาด และสังคม เราก็จะตกหลุมพรางดังเช่นหลายๆบริษัท ที่ทำผลงานออกมาแล้ว ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านคำว่าสิ่งประดิษฐ์  ซึ่งจะไม่สามารถทำสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นให้กลายเป็นนวัตกรรมได้เลย
3. ละเลยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี สำหรับการสร้างนวัตกรรมนั้นเทคโนโลยีเป็นที่สิ่งเราไม่ควรมองข้ามเพราะเทคโนโลยีจะมีผลอย่างมากกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆตลอดเวลาและเมื่อวิธีการและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆเหล่านั้นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป เราจะต้องก้าวตามเรื่องของเทคโนโลยีให้ทัน
4.การทำงานแบบตั้งรับ ในองค์กรต้องมีทำงานแบบเชิงรุก ต้องมองไปข้างหน้า ต้องมีวิสัยทัศน์ที่จะสร้างคุณค่าและคุณประโยชน์ให้กับผู้บริโภค สังคมและบริษัทควบคู่กัน ซึ่งจะต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และเมื่อองค์กรเราเห็นปลายทางชัดเจน การทำงานในเชิงนวัตกรรม ก็จะมีความชัดเจนมากในทำงานเชิงรุกได้อย่างถูกต้อง ถ้าองค์กรใดยังทำงานแบบตั้งรับและไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนองค์กรจะตกหลุม พรางของการทำนวัตกรรมจะกลายเป็นการทำงานในลักษณะ “หาเช้ากินค่ำ”องค์กรนั้นก็จะไม่มีนวัตกรรม
5.ขาดการติดตามและต่อยอด มีองค์กรหลายองค์กรที่ลงทุนในเรื่องของงานวิจัยไปมากมาย ทดลองกันเสียมากมาย มีการจัดประกวดแข่งขันผลงานนวัตกรรมกัน แต่ไม่ได้นำ ความสำเร็จจากการทดลองนั้นไปขยายผล องค์กร นั้นก็ไม่สามารถ ก้าวข้ามสิ่งประดิษฐ์ไปสู่นวัตกรรม ตามที่องค์กรต้องการได้เลย
6.ขาดการตรวจสอบผลัพธ์ของการทำนวัตกรรม การติดตามผลตอบแทนของนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญมาก ต่อให้องค์กรมีผลงานของการค้นพบสิ่งใหม่มากมาย หากแต่ผลตอบแทนที่ได้กลับมาไม่ได้เติบโตหรือซ้ำร้ายกลับน้อยลงกว่าเดิม ก็ให้เข้าใจเสียเลยว่า สิ่งที่เราทำนั้นอาจเป็นเพียงแค่สิ่งประดิษฐ์ ยังไม่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้จริงยังไม่ใช่นวัตกรรม การที่เราวัดผลตอบแทนจากการทำนวัตกรรม เพราะเราสามารถนำสิ่งนี้ไปสู่การเรียนรู้ตลอดเวลาว่าสิ่้งที่เราทำมันดีพอหรือไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคและสังคมได้อย่างตรงประเด็นหรือยัง
7.องค์กรแยกกันทำงาน(แบบไซโล) ในเรื่องของวัฒนธรรมการทำงานแบบไม่ประสานพลังร่วมกันขององค์กร ถือเป็นอีกหลุมพรางหลุม ใหญ่ ถ้าคนในองค์กรยังทำงานแยกกันทำเป็นส่วนๆ ไม่ร่วมมือกัน ไม่ทำความเข้าใจถึงภาพรวมและ ประสานรอยร้าวต่างๆเข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน องค์กรนั้นจะไม่สามารถทำนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง เพราะนวัตกรรมที่ทำจะตอบโจทย์เพียง แค่เฉพาะหน่วยงานเขาเอง แต่ไม่ได้ตอบโจทย์ ในหน่วยงานอื่น รวมถึงไม่ได้ตอบโจทย์ 3 ประโยชน์ ที่แท้จริงคือ ปรเทศชาติ ประชาชนและบริษัท นั่นเอง
ดังนั้นหากเราก้าวข้ามผ่านหลุมพรางของนวัตกรรมเหล่านี้ไปได้ ซึ่งเชื่อได้ว่าองค์กรของทุกๆท่าน จะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้แบบยั่งยืน

 ย้อนกลับ

หมวด

การบริหารองค์กรที่มีนวัตกรรม

โดย

คุณพูลสวัสดิ์ เผ่าประพัธน์ รองกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม กลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์

วันที่

26.07.2015

 
8
 
0
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
แสดงความคิดเห็น
0 ความคิดเห็น
โปรด login ก่อนแสดงความคิดเห็น
Email:
Password: